นิทานชาติเวร
 
เรื่องที่ ๑
พฤหัสบดี (๕)       เป็นพระอินทร์
 
พระอาทิตย์ (๑)    เป็นพญาครุฑ
 
พระอังคาร (๓)     เป็นพญาราชสีห์
 
พระเสาร์ (๗)       เป็นพญานาค
 
พระราหู (๘)        เป็นพระราหู
 

             ในปฐมกัลป์อันล่วงมานานแล้ว พระอาทิตย์ (๑) พระอังคาร (๓) พฤหัสบดี (๕) พระเสาร์ (๗) ได้เกิดเป็นเทวดา ๔ องค์

มีความดำริประกอบด้วยเมตตาจิตคิดจะสร้างดินและน้ำไว้ให้เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์โลกทั้งหลายและเห็นว่า พระราหู (๘) นั้น

ทรงฤทธิ์มาก ควรจะเป็นกำลังในการสร้างครั้งนี้ด้วย เทพบุตรทั้งสี่พระองค์นั้นจึงไปปรึกษาแก่พระราหู พระราหูตอบว่า

ดูกรสหายทั้งสี่  ตัวเรานี้จะได้อยู่ในน้ำบนดินก็หามิได้ การสร้างน้ำและดินครั้งนี้ไม่เป็นประโยชน์สิ่งใดแก่ตัวเรา เมื่อท่านทั้งสี่

มีความปรารถนาจะสร้างดินจะสร้างน้ำไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ตัวท่าน ท่านจงสร้างโดยลำพังท่านเถิด เทพบุตรทั้งสี่ก็มีความแค้นเคือง

พระราหูยิ่งนัก จึงกลับมาประชุมกันสร้างน้ำและดินขึ้นตามความปรารถนาโดยมีน้ำอมฤตเกิดขึ้นในครั้งนั้น

และเทวดาทั้งสี่ก็แบ่งหน้าที่กันรักษา พฤหัสบดี (๕) เป็นพระอินทร์ รักษาเขาสุเมรุราช พระอาทิตย์ (๑) เป็นพญาครุฑ

รักษาเขาสัตตปริพันธ์ทั้ง ๗ พระอังคาร (๓) เป็นพญาราชสีห์ รักษาป่าหิมพานต์ มีอาณาเขตกว้างยาวได้ ๓๐๐๐ โยชน์

พระเสาร์ (๗) เป็นพญานาครักษาพระมหาสมุทรมีอาณาเขต ๔๐๐๐ โยชน์ ครั้นกาลนานถึงกรรมวิบากจะเกิดชาติเวรกันสืบไป

พญาครุฑได้เห็นพญานาคก็มีความปรารถนาจะจับพญานาคนั้นกินเป็นอาหาร จึงได้สำแดงฤทธิ์เข้ารุกไล่พญานาค

พญานาคก็หนีไปยังสำนักของพระราหูพระราหูเห็นดังนั้นจึงได้ร้องตวาดพญาครุฑด้วยถ้อยคำอันหยาบช้าว่า “เหวยพญาครุฑ

ทุจริตคิดทำร้ายมิตรสหาย” ว่าแล้วพระราหูก็ไล่พิฆาตพญาครุฑ พญาครุฑตกใจบินหนีไปยังสำนักพระอินทร์  

พระราหูไร่พญาครุฑไม่ทัน มีความกระหายน้ำเป็นกำลังจึงตรงไปดื่มน้ำอมฤต พระอินทร์เห็นดังนั้นก็ทรงพิโรธพระราหู

ที่บังอาจมาดื่มมากินน้ำอมฤตจึงตวาดเสียงอันดังว่า “เหวยๆ ราหู มึงว่าไม่ได้อยู่ในน้ำ ไม่ได้อยู่บนดิน เหตุใดจึงมากินน้ำอมฤตของกูเล่า”

ว่าแล้ว พระอินทร์ก็ได้ขว้างจักรเพชรขว้างไปต้องพระราหูกายขาดออกเป็นสองท่อน ด้วยอำนาจที่พระราหูได้ดื่มกินน้ำอมฤตนั้น

ร่างกายที่ขาดเป็นสองท่อนแล้วก็หาตายไม่ จึงได้หนีไปยังสำนักของตนได้

 

             ตำนานนพเคราะห์บทนี้เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระอาทิตย์ (๑) กับพระเสาร์ (๗) เป็นคู่ศัตรู เป็นมูลพยากรณ์ได้ว่า

หากพระอาทิตย์ (๑) โคจรต้องพระเสาร์ (๗) จะมีผู้คิดร้าย จะตกใจมากนัก แต่ไม่เป็นไร จะได้ผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจเป็นที่พึ่ง

 พระอาทิตย์ (๑) กับพระราหู (๘) เป็นคู่ศัตรู เป็นมูลพยากรณ์ได้ว่าเมื่อราหู (๘) โคจรถึงพระอาทิตย์ (๑) จะต้องจากถิ่นฐาน

บ้านเรือนและบุตรภรรยา พระพฤหัสบดี (๕) กับพระราหู (๘) เป็นคู่ศัตรู เป็นมูลพยากรณ์ได้ว่าเมื่อพฤหัสบดี (๕)

โคจรต้องพระราหู (๘) จะเจ็บตัวเกิดความระส่ำระสาย ทรัพย์จะเสียหายกึ่งหนึ่งแล พระราหู (๘) กับ พระเสาร์ (๗) เป็นคู่มิตร

พระอาทิตย์ (๑) กับ พระพฤหัสบดี (๕) เป็นคู่มิตร

 

เรื่องที่ ๒

พระพฤหัสบดี (๕) เป็นทิศาปาโมกข์

พระอาทิตย์ (๑)    เป็นมาณพ

พระอังคาร (๓)     เป็นเพทธยาธร

พระจันทร์ (๒)      เป็น นางจันทร์

            ในอดีตกาล พระอาทิตย์ (๑) เกิดเป็นมาณพ พระพฤหัสบดี (๕) เกิดเป็นทิศาปาโมกข์ พระจันทร์ (๒)

เกิดเป็นบุตรีของที่ทิศาปาโมกข์มีนามว่านางจันทร์ พระอังคาร (๓) เกิดเป็นเพทธยาทร มาณพได้ไปเรียนศิลปศาสตร์

กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์เห็นว่ามานพเป็นคนดีมีความเฉลียวฉลาดมากจึงยกนางจันทร์ผู้เป็นบุตรี

ให้เป็นภรรยามาณพ มาณพก็พานางจันทร์ผู้เป็นภรรยากลับบ้านแล้วนำนางจันทร์ไปซ่อนไว้ในผอบ ฝ่ายเพทยาธร

เมื่อมีโอกาสก็ลอบเข้าไปเป็นชู้กับนางจันทร์ภรรยาของมาณพ เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์รู้เรื่องความประพฤติชั่วของบุตรี

จึงหาอุบายที่จะบอกมาณพผู้เป็นลูกศิษย์ได้รู้

            ครั้นเมื่อมาณพอาทิตย์มาสู่เรือนของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์จึงได้ยกเชี่ยนหมากมารับรองถึงสองเชี่ยน

มาณพอาทิตย์เห็นดังนั้นก็ประหลาดใจ จึงเอ่ยถามอาจารย์ว่า วันนี้เห็นแปลกประหลาดนัก ทำไมอาจารย์จึงยกเชี่ยนหมาก

มารับรองถึงสองเชี่ยน ทิศาปาโมกข์จึงกล่าวว่ามาณพนั้นถ้าอยากรู้ก็จงผอบออกดูเถิด มาณพนั้นก็ไปเปิดผอบออกดูจึงได้เห็น

เพทยาธรอังคารกำลังเป็นชู้กับนางจันทร์ ฝ่ายเพทยาธรอังคารเห็นมาณพดังนั้นก็จับพระขรรค์ขึ้นสู้รบฟันถูกศีรษะมานพแตก ๑ แผล

แล้วก็เหาะหนีไป มาณพจับได้จักรเพชรก็ขว้างไปโดยแรง ถูกขาเพทยาธรขาด เพทยาธรได้รับความลำบากสู้ไม่ได้ก็เหาะหนีไป

              ตำนานนพเคราะห์บทนี้เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระอาทิตย์ (๑) กับพระอังคาร (๓) เป็นคู่ศัตรู เป็นมูลพยากรณ์ได้ว่า

พระอาทิตย์โคจรมาต้องพระอังคารในชะตาจะเจ็บเท้า แต่ถ้าพระอังคารโคจรมาต้องพระอาทิตย์จะปวดศีรษะ ศีรษะจะแตก

จะตกจากที่สูง พระอาทิตย์ (๑) กับพระพฤหัสบดี (๕) เป็นคู่มิตร เป็นมูลพยากรณ์ได้ว่าพระอาทิตย์และพฤหัสบดีโคจรถึงกันว่า

จะได้ลาภเพราะมิตรหรือพระอาทิตย์โคจรถึงพฤหัสบดีจะเกิดความเสี่ยงเสี่ยงเพราะปาก พระจันทร์ (๒) กับพฤหัสบดี (๕) เป็นคู่ศัตรู

เพราะพฤหัสบดีเอาเรื่องไปบอกพระอาทิตย์ พระจันทร์ (๒) กับพระอังคาร (๓) เป็นคู่หลงใหลคู่ชู้ เป็นมูลพยากรณ์ได้ว่าพระอังคารโคจร

ถึงพระจันทร์ว่าจะหลงด้วยชู้ จะพลัดพรากจากบิดามารดา แต่ถ้า พระพฤหัสบดี พระจันทร์ พระอังคาร โคจรมาต้องกัน

ให้ระวังศัตรูจะทำร้าย จะมีคนดูหมิ่นนินทา

 

เรื่องที่ ๓

พระอังคาร (๓)     เป็นกบ

พระเสาร์ (๗)       เป็นงู

พระศุกร์ (๖)        เป็นรุกขเทวดา

           ในอดีตกาลนานมาแล้ว พระอังคาร (๓) เกิดเป็นกบ พระเสาร์ (๗) เกิดเป็นงู พระศุกร์ (๖) เกิดเป็นรุกขเทวดา

เมื่องูเห็นกบ ก็ไล่จับกินเป็นอาหาร กบก็กระโดดหนีเข้าไปหลบในโพรงไม้ที่รุกขเทวดาอาศัยอยู่ รุกขเทวดาเห็นงูไล่กบมา

ก็เกิดความสงสารกบ จึงร้องตวาดงูด้วยเสียงอันดัง งูเกิดความตกใจกลัวอำนาจรุกขเทวดาก็ไม่กล้าไล่กบต่อไป

กบรอดอันตรายจึงกล่าวคำสรรเสริญคุณรุกขเทวดาเป็นอันมาก

           ตำนานนพเคราะห์บทนี้เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระศุกร์ (๖) กับพระเสาร์ (๗) เป็นคู่ศัตรู เป็นมูลพยากรณ์

ได้ว่าพระเสาร์ (๗) โคจรมาต้องพระศุกร์ (๖) ทายว่าศัตรูคอยจะทำร้าย หรือโจรปล้นทรัพย์ แต่ถ้าพระศุกร์ถึงพระเสาร์

ว่าจะมีผู้เบียดเบียนขัดลาภ พระอังคาร (๓) กับพระศุกร์ (๖) เป็นคู่มิตร เป็นมูลพยากรณ์ได้ว่าพระอังคาร (๓) โคจรต้องพระศุกร์ (๖)

หรือพระศุกร์ (๖) โคจรต้องพระอังคาร (๓) ทายว่าจะได้มิตรสหายเป็นที่พึ่งที่อาศัยซึ่งกันและกันเป็นอันดี

ถ้าเจ็บไข้ว่าจะหายในเวลานั้น

 

เรื่องที่ ๔

 พระจันทร์ (๒)      เป็นคนเข็ญใจ

พระราหู (๘)        เป็นคหบดี

พระเสาร์ (๗)       เป็นพ่อค้า

พระพุธ (๔)         เป็นสุนัข

            ครั้งหนึ่ง พระจันทร์ (๒) เกิดเป็นคนเข็ญใจ พระราหู (๘) เกิดเป็นคหบดี พระเสาร์ (๗) เกิดเป็นพ่อค้าเป็นเพื่อนของคหบดี

พระพุธ (๔) เกิดเป็นสุนัข คนเข็ญใจจันทร์ ได้ไปกู้เงินจาก คหบดีราหู นั้นมาใช้ ครั้นเจ้าหนี้ทวงบ่อยๆ เข้าก็หนีไปอยู่เสียที่อื่น

ซ่อนเร้นไม่ให้เจ้าหนี้เห็นตัวได้ ภายหลังพ่อค้าเสาร์ได้ไปเที่ยวค้าขายในที่ต่างๆ ไปพบตัวและที่อยู่ของคนเข็ญใจจันทร์นี้เข้า

ก็กลับมาบอกแก่คหบดีราหู คหบดีราหูก็ตามไปจับตัวลูกหนี้และฉุดคร่าจะเอาตัวมายังเคหะของตน สุนัขพุธที่อยู่ในบ้านนั้น

จึงได้ช่วยคนเข็ญใจจันทร์คือเข้าไปไล่กัดคหบดีราหู คหบดีราหูก็ปล่อยลูกหนี้ จนหนีไป

            ตำนานนพเคราะห์บทนี้เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระราหู  (๘)  กับพระพุธ (๔) เป็นคู่ศัตรูกัน พระพุธ (๔) ต้องพระราหู (๘)

ให้ระวังสุนัขจะกัด และจะต้องเขี้ยวงาต่างๆ มีเลือดตกยางออก แต่ถ้าพระราหู (๘) ถึงพระพุธ (๔) ว่าศัตรูจะทำร้าย

พระราหู (๘) กับพระเสาร์ (๗) เป็นคู่มิตร พระราหู (๘) และพระเสาร์ (๗) ถึงกัน ให้ทายว่าจะได้มิตรสหายที่ถูกใจกัน

แล้วจะพากันทำความเดือดร้อนขึ้น พระพุธ (๔) กับ พระจันทร์ (๒) เป็นคู่มิตร ถ้าพระพุธ (๔) และพระจันทร์ (๒)

โคจรต้องการจะได้มิตรอันดีมีลาภต่าง ๆ แต่ถ้าพระราหู (๘) และพระเสาร์ (๗) ถึงพระจันทร์ (๒) ทายว่าคนจะดูหมิ่น

จะต้องถูกเขาใส่ถ้อยความไม่ดี

 

เรื่องที่ ๕

 พระอาทิตย์ (๑)    เป็นวานร

พระอังคาร (๓)     เป็นนายพราน

               ครั้งหนึ่งพระอาทิตย์ (๑) เกิดเป็นวานรอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง พระอังคาร (๓) เกิดเป็นนายพราน วันหนึ่งวัวของนายพราน

นั้นหลุดไป นายพรานจึงเที่ยวตามวัวไปถึงชายป่า เห็นลิงอยู่บนต้นไม้ นายพรานก็ขว้างอิฐไปต้องหัววานรแตก

            ตำนานนพเคราะห์บทนี้เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระอาทิตย์ (๑) กับพระอังคาร (๓) เป็นคู่ศัตรู พระอังคาร (๓)

โคจรต้องพระอาทิตย์ (๑) ในดวงชะตากำเนิดให้เกรงศีรษะจะแตก จะเป็นไข้ปวดหัวตัวร้อนแล

เรื่องที่ ๖

พระอังคาร (๓)     เป็นพญาราชสีห์

พระอาทิตย์ (๑)    เป็นนกกะไน

            ในครั้งหนึ่งพระอังคาร (๓) เกิดเป็นพญาราชสีห์  พระอาทิตย์ (๑) เกิดเป็นนกกะไน พญาราชสีห์อังคารกินเนื้อสัตว์ทั้งหลาย

เนืองนิตย์ วันหนึ่งกระดูกสัตว์ที่กินนั้นตำคอพญาราชสีห์ พญาราชสีห์ได้ความลำบากมากจึงอ้อนวอนให้นกกะไนอาทิตย์

ช่วยเอากระดูกที่คาคออยู่นั้นออกให้ นกกระไนอาทิตย์ก็เจาะคอพญาราชสีห์เอากระดูกที่คาคอนั้นออกได้

            ตำนานนพเคราะห์บทนี้เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระอาทิตย์ (๑) กับพระอังคาร (๓) เป็นคู่ศัตรู พระอาทิตย์ (๑)

โคจรมาต้องพระอังคาร (๓) จะกินอาหารต้องระวังก้างติดคอ หรือจะเจ็บปากเจ็บคอ 

 

เรื่องที่  ๗

พระพฤหัส (๕)     เป็นนกอีลุ้ม

พระจันทร์ (๒)      เป็นนกเหยี่ยว

                 ในกาลครั้งหนึ่งพระพฤหัส (๕ ) เกิดเป็นนกอีลุ้ม พระจันทร์ (๒) เกิดเป็นนกเหยี่ยว เมื่อเหยี่ยวจันทร์เห็นนกอีลุ้ม

พฤหัสก็ไล่ตีเพื่อจะฆ่าเป็นอาหาร นกอีลุ้มพฤหัสบินหนีไปซ่อนตัวอยู่ในรอยเท้าโค เหยี่ยวจันทร์เห็นก็โผลงไปที่รอยเท้าโคนั้นเต็มกำลัง

อกก็ไปกระแทกเข้ากับรอยมูลดินที่ข้างรอยเท้าโคนั้นโดยเต็มแรง อกเหยี่ยวก็แตกและถึงแก่ความตายอยู่ ณ ที่นั้น

                ตำนานนพเคราะห์บทนี้เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระพฤหัสบดี (๒) กับพระจันทร์ (๕) เป็นคู่ศัตรู พระจันทร์ (๒)

โคจรมาต้องพระพฤหัสบดี (๕) จะเกิดโรค ห้ามไม่ให้เดินทางไกล

 

เรื่องที่ ๘

พระเสาร์ (๗)       เป็นพญานาคภูริทัต

พระอังคาร (๓)     เป็นนายพรานอาลัมพาย

                 ในครั้งหนึ่งว่าพระเสาร์ (๗) เกิดเป็นพญานาคมีนามว่าภูริทัต พระอังคาร (๓) เกิดเป็นนายพรานมีนามว่าอาลัมพาย

อาลัมพายอังคารได้ไปจับพญานาคภูริทัตเสาร์ นำไปแสดงให้คนดู พญานาคภูริทัตเสาร์ได้รับความลำบากมาก

                ตำนานนพเคราะห์บทนี้ เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระเสาร์ (๗) กับ พระอังคาร (๓) เป็นคู่ศัตรู พระอังคาร (๓)

โคจรมาต้องพระเสาร์ (๗) จะได้ความลำบากใจมาก เดินทางไกลไม่ดีจะให้โทษ จะต้องพลัดพรากจากที่อยู่ที่กิน

  

เรื่องที่ ๙

พระเสาร์ (๗)       เป็นไม้ตะเคียน

พระอังคาร (๓)     เป็นพระยาโปริสาด

               ครั้งหนึ่งพระเสาร์ (๗) เกิดเป็นไม้ตะเคียน พระอังคาร (๓) เกิดเป็นพระยาโปริสาด พระยาโปริสาดอังคารไปไล่เนื้อในป่า

ไปสะดุดตอไม้ตะเคียนเสาร์ เสี้ยนไม้ตะเคียนตำเอาเจ็บปวดสาหัส

              ตำนานนพเคราะห์บทนี้ เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระเสาร์ (๗) กับ พระอังคาร (๓) เป็นคู่ศัตรู พระอังคาร (๓)

โคจรมาต้องพระเสาร์ (๗) หรือพระเสาร์ (๗) โคจรต้องพระอังคาร (๓) จะเจ็บป่วยเท้า และมือจะถูกมีดบาด มีเสี้ยนตำ

 

เรื่องที่ ๑๐

พระอังคาร (๓)     เป็นไม้เกต

พระราหู (๘)        เป็นไฟ 

             ครั้งหนึ่งพระอังคาร (๓) เกิดเป็นไม้เกต พระราหู (๘) เกิดเป็นไฟ ไฟติดขยะมูลฝอยลามไปไหม้ไม้เกต

             ตำนานนพเคราะห์บทนี้ เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระอังคาร (๓) กับพระราหู (๘) เป็นคู่ศัตรู พระราหู (๘)

โคจรถึงพระอังคาร (๓) เจ้าชะตาต้องระมัดระวังไฟจะไหม้บ้านเรือน

 

เรื่องที่ ๑๑

พระพุธ (๔)         เป็นพระยาช้างฉัททันต์

พระอังคาร (๓)     นายพรานโสอุดร

             ครั้งหนึ่งพระพุธ (๔) เกิดเป็นช้างชื่อพระยาฉัททันต์ พระอังคาร (๓) เกิดเป็นนายพรานมีนามว่านายโสอุดร

นายพรานโสอุดรอังคารได้ไปขุดอุโมงค์ยิงพระยาฉัททันต์พุธถูกที่ท้อง แล้วเลื่อยงาไปได้ พระยาฉัททันต์ได้รับความเจ็บปวดมาก

จนถึงแก่ความตาย

              ตำนานนพเคราะห์บทนี้ เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระพุธ (๔) กับ พระอังคาร (๓) เป็นคู่ศัตรู เมื่อพระอังคาร (๓)

ถึงพระพุธ (๔) จะเจ็บท้องปวดท้อง ให้ระวังอย่ากินเนื้อสัตว์จะเป็นพิษแสลง

 

เรื่องที่ ๑๒

เศรษฐีหัศวิไสย

นางสุนทรา

               ดำเนินนิทานว่า ในมหากัลปอันล่วงแล้วช้านาน มีเศรษฐีสองคนผัวเมีย ผัวชื่อหัศวิไสย ภรรยาชื่อนางสุนทรา

ตั้งเคหสถานอยู่ในพระมหานครแห่งหนึ่ง มีบุตรชายสามคน แล้วภายหลังยากจนลง คิดจะไปทำมาหาเลี้ยงชีพ จึงได้ถวายเคหะ

และถิ่นฐานของเดิมเป็นของสงฆ์ แล้วก็พากันไปตั้งภูมิลำเนาหาเลี้ยงชีพอยู่ยังชนบทริมชายเขาแห่งหนึ่ง ด้วยความชวนขวาย

ช่วยกันทำมาหาเลี้ยงชีพก็กลับบริบูรณ์ขึ้น เมื่อเศรษฐีตายไปในเวลาที่นอนหลับอยู่ ภรรยาและบุตรจัดการเผาศพหัศวิไสย

ตามประเพณีนิยมแล้วจึงไปนิมนต์พระธุดงค์ ๙ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และฉันอาหารบิณทบาตที่บ้านในการทำบุญ ๗ วัน

          คนพี่ใหญ่ได้ขันทองคำเป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวใส่บาตร คนที่สองได้ชันเงินเป็นภาชนะสำหรับใส่บาตร คนน้องหาสิ่งใด

จะใส่ข้าวใส่บาตรไม่ใด้ ก็มีความโกรธเคืองพี่ชายทั้งสองคนนั้นเป็นอันมาก ว่าแย่งเอาขันทองคำและขันเงินเสีย จึงเอากระทาย

มาเป็นภาชนะใส่ข้าวใส่บาตร พี่ชายใหญ่อธิษฐานว่า การทำบุญของข้าพเจ้านี้ขอให้มีอานิสงส์ส่งได้กำเนิดเป็นพระอาทิตย์ส่องโลก

คนที่สองปรารถนาได้เป็นพระจันทร์ส่องโลก น้องสุดท้องได้ยินดังนั้นจึงอธิษฐานขอให้เกิดเป็นพี่ชายพระอาทิตย์พระจันทร์

มีร่างกายเติบใหญ่ ปิดบังพระอาทิตย์และพระจันทร์เสียได้ ครั้นกาลนานมาก็ตายไปตามยถากรรมด้วยกันทั้งสิ้น

ไปเกิดในสวรรค์ร่วมวิมานกันทั้ง ๕ คน ครั้งนั้นเทพบุตรหัศวิไสยมีความปรารถนาเป็นพระสุธา และนางสุนทรามีความปรารถนา

เป็นพระคงคาคู่กันกับพระสุธา ครั้งเมื่ออายุโลกครั้งนั้นแล้วเทพหัสวิไสยก็ได้มาเกิดเป็นพระสุธา และนางสุนทราก็เกิดเป็นพระคงคา

พระอาทิตย์เกิดเป็นราชสีห์ พระจันทร์เกิดเป็นนางฟ้า พระอังคารเกิดเป็นควาย พระพุธเกิดเป็นช้าง พระพฤหัสบดีเกิดเป็นฤาษี

พระศุกร์เกิดเป็นคาวี พระเสาร์เกิดเป็นเสือ พระราหูเกิดเป็นผีโขมด พระเกตุเกิดเป็นนาค และพระอิศวรผู้เป็นเจ้าได้ทรงสร้างขึ้น

เป็นเทวดาพระเคราะห์

                ตำนานนพเคราะห์บทนี้ เป็นมูลเหตุแห่งชาติเวรว่า พระอาทิตย์ (๑) พระจันทร์ (๒) และพระราหู (๘)

ในเรื่องที่เกิดสุริยุปราคา และจันทรุปราคา และมูลพยากรณ์ในนิทานนพเคราะห์บทนี้ คงทายเหมือนพระเคราะห์

บทก่อนๆ ที่กล่าวมาแล้วในเรื่องนิทานชาติเวรของพระอาทิตย์ (๑) พระจันทร์ (๒) อันมีแก่พระราหู (๘)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้